รู้ยัง?? หน้าที่และความรับผิดชอบของ รปภ. มีอะไรบ้าง??

7,315 views


รู้ยัง?? หน้าที่และความรับผิดชอบของ รปภ. มีอะไรบ้าง??
 
     พนักงานรักษาความปลอดภัย หรือ รปภ. ทุกคน ที่จะเข้าปฏิบัติหน้าที่ประจำหน่วยงานต่าง ๆ ส่วนหนึ่งได้ผ่านการคัด เลือกจากกองพันทหาร ทั้งทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมประสานงานของ ตำรวจ ทหาร ผู้เชี่ยวชาญ วิทยากรและครูฝึก ซึ่งจะมีทำการติดต่อคัดเลือกทหารเกณฑ์ซึ่งปลดประจำการจากกองทัพต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยจะคัดเลือกทหารที่ปลดประจำการและมีความประพฤติ และบุคลิกเหมาะสมที่จะเป็น รปภ. หรือ พนักงานรักษาความปลอดภัย เพื่อเข้ามาฝึกอบรมตามหลักสูตรของบริษัทฯ  ต่อไป โดย รปภ. หรือพนักงานรักษาความปลอดภัยที่จบหลักสูตรของบริษัทฯ จะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน
 
คุณสมบัติของผู้สมัคร รปภ.

     ผู้สมัคร รปภ. หรือพนักงานรักษาความปลอดภัยจะต้องมีอายุระหว่าง 20 – 50 ปี โดยจะต้องจบการศึกษาอย่างน้อย ประถมศึกษา ขึ้นไป หากเคยผ่านการเป็นทหาร ตำรวจ อาสาสมัคร หรือเคยผ่านการอบรมหลักสูตร รปภ. มาแล้วส่วนใหญ่จะได้รับการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ ที่สำคัญการเป็น รปภ. จะต้องมีความประพฤติ และ ประวัติดี ไม่เคยถูกให้ออก หรือถูกไล่ออกเพราะประพฤติตัวไม่ดี ต้องไม่เคยกระทำความผิดทางอาญา และต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกมาก่อน เว้นแต่ความผิดลหุโทษ ผู้สมัคร รปภ. จะต้องยินยอมพิมพ์ลายนิ้วมือ และส่งประวัติไปตรวจสอบ ณ กองทะเบียนประวัติอาชญากร สตช. มีบุคลิกภาพ รูปร่าง ท่าทางเหมาะสมที่จะทำงานด้านการรักษาความปลอดภัย เมื่อผู้สมัคร รปภ.ผ่านการอบรมตามหลักสูตรของบริษัทฯ มาแล้ว ก็ต้องพร้อมที่จะเข้าปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทันทีที่ส่งตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ โดยมีผู้รับรองความประพฤติ และค้ำประกันการเข้าทำงาน อีกทั้งการเป็น รปภ. หรือพนักงานรักษาความปลอดภัย จะต้องแต่งเครื่องแบบสะอาด เรียบร้อย ติดป้ายชื่อ และบัตรประจำตัวอยู่ตลอดเวลาที่เข้าปฏิบัติหน้าที่
 
การควบคุมการทำงาน รปภ.ให้มีประสิทธิภาพ

     หัวหน้าชุด/หัวหน้าผลัดของรปภ. จะต้องทำหน้าที่คอยควบคุมดูแลเจ้าหน้าที่ รปภ. ประจำจุดต่างๆ โดยทำการคัดเลือกผู้ที่มีลักษณะเป็นผู้นำที่ดี และมีขีดความสามารถ รวมทั้งศักยภาพในการปกครอง และประสานงานกับผู้ว่าจ้างได้เป็นอย่างดี โดยมีเจ้าหน้าที่สายตรวจ ที่จะทำหน้าที่คอยควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ รปภ. ตามจุดต่างๆ  ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล พร้อมทั้งแก้ไขข้อบกพร่องตลอด 24 ชั่วโมง และยังจะต้องกำกับดูแลการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ รปภ. ให้สอดคล้องกับหน่วยงานของผู้ว่าจ้างภายใต้เงื่อนไขของสัญญาจ้างให้ดีอีกด้วย  นอกจากนี้ยังมีการจัดเจ้าหน้าที่ ไปตรวจการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ รปภ. ในพื้นที่ต่างจังหวัด พร้อมกับประสานงานกับผู้ว่าจ้างเพื่อคอยรับทราบปัญหา ข้อขัดข้องหรือข้อเสนอแนะ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น   
 
หน้าที่ความรับผิดชอบของ รปภ.

     หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ รปภ. ตามหลักๆ จะต้องคอยตรวจทรัพย์สิน อาคารสถานที่ที่รับมอบให้ละเอียดและถูกต้องทุกครั้งที่เข้า และออกจากการปฏิบัติหน้าที่พร้อมด้วยลงนามรับ – ส่งมอบไว้เป็นหลักฐาน คอยดูแลทรัพย์สิน และสถานที่ทำการต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ คอยดูแลระวังรักษาทรัพย์สิน และอาคารที่รับผิดชอบไว้อย่าให้เกิดอันตรายและสูญหายหรือเสียหาย คอยหมั่นตรวจตราบุคคลที่เข้าไปในบริเวณกองเก็บสินค้า หรือตู้สินค้าที่รับผิดชอบ หากไม่มีหน้าที่ รปภ.จะต้องคอยรายงานเหตุการณ์ประจำวัน ต่อผู้บังคับบัญชา หรือเวรของศูนย์รักษาความปลอดภัย  
 
     เพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดการโจรกรรม หรือผู้หนึ่งผู้ใดมาทำอันตรายแก่ทรัพย์สิน รปภ. สามารถทำการจับกุมผู้เข้ามาประทุษกรรมต่อทรัพย์สินหรืออาคาร เมื่อประสพเหตุซึ่งหน้า แล้วนำมาแจ้งความให้เจ้า หน้าที่ตำรวจดำเนินคดีต่อไป



 
Scroll